blogger นี้ จัดทำขึ้นเพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนของรายวิชา อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนางสาววนิดา ศรีทองสุข นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันว่างๆๆหลังจากหยุดเรียน

7 กันยายน 2554

อำเภอ เชียงคาน จังหวัด เลย

"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"
เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง "100 ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง" ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป
เชียงคาน อำเภอเล็ก อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง จากอาณาจักรล้านช้างในอดีต จากภูมิประเทศที่ติดชายแดนลาว ผู้คนที่นี่ทำการค้าขายกับคนลาวฝั่งตรงข้ามอยู่สม่ำเสมอตั้งแต่อดีตกาล ครั้นประเทศลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ศิลปวัฒนธรรมการก่อสร้างบ้านเรือน อาหารการกิน คนที่นี่พลอยได้รับอารยธรรมฝรั่งเศสไปด้วย การคมนาคมนอกจากเรือ แล้ว จักรยานเห็นจะเป็นยานพาหนะยอดฮิตของผู้คนที่นี่ เราสามารถเห็นจักรยานรุ่นเก่าจอดเรียงอยู่หน้าบ้าน แถวเชียงคานอยู่ทั่วไป บ้านเรือทรงไทยโบราณเกือบร้อยปี หากใครมีฐานะหน่อยก็จะมีระเบียงหน้าบ้าน จนหน่อยก็มีแค่หน้าต่าง วัฒนธรรมการใส่บาตรข้าวเหนียวยามเช้า ยังคงมีให้เห็นอยู่ พระที่นี่เดินบินฑบาตกันแต่เช้ามืด ประมาณ 6.00 น. ช่วงหน้าหนาวสว่างช้าหน่อยก็เดินกันตั้งแต่ 6.30 น. ทางหอการค้าท่องเที่ยว จ.เลย มีแผนการหลายอย่างที่จะอนุรักษ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ สิ่งก่อสร้าง ภาษาท้องถิ่น ของผู้คนที่นี่ ปัจจุบันทางการกำลังทำถนนจาก อ.ท่าลี่ สู่ หลวงพระบาง ประเทศลาว ประมาณ 320 กม. ถือว่าสั้นและสะดวกที่สุดในการเดินทางโดยรถยนต์ โครงการนี้จะแล้วเสร็จ ประมาณปี 2556 ลัดเลาะสองฝั่งโขง แถวเชียงคานนี่เอง เป็นจุดเริ่มลำน้ำโขงที่มาบรรจบกับลำน้ำเหือง ไหลผ่านอีกหลาย อำเภอ ของอีกหลายจังหวัดของประเทศไทย ทิวทัศน์แปลกตา มีเกาะแก่งน้อยใหญ่ให้ดูชมตลาดเส้นทางที่คู่ขนานกับลำน้ำสายนี้ อาหารการกิน ส่วนใหญ่เป็นจำพวกปลาต่างๆ จากแหล่งน้ำโขงนี่เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น