blogger นี้ จัดทำขึ้นเพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนของรายวิชา อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนางสาววนิดา ศรีทองสุข นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันว่างๆๆหลังจากหยุดเรียน

24 มิถุนายน 2554

เชิญร่วมงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและการแข่งขันเรือยาว “ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกำมารี” จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2552 ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 4 ตุลาคม 2552 ณ บริเวณสนามมิ่งเมืองสกลนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ และวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร
ชาวสกลนครมีการฉลองเทศกาลออกพรรษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ด้วยการสร้าง “ปราสาทผึ้ง”ถวายเป็นพุทธบูชา โดยชาวสกลนครเอารวงผึ้งที่คั้นน้ำออกแล้วต้มให้เปื่อย ทำเป็นดอกไม้ต่างๆ มาสร้างเป็นปราสาท ซึ่งก่อนนั้นทำกันอย่างง่ายๆคือเอากาบกล้วยมาทำเป็น โครงปราสาทร้อยให้ติดต่อกันด้วยตอกไม้ไผ่ เรียกว่า “แทงหยวก” จากนั้นประดับด้วยดอกผึ้ง เป็นลวดลายต่างๆรวมทั้งเครื่องประดับอันได้แก่ ไม้ขีด กระดาษ ดินสอ ผ้าฝ้ายและผ้าแพร ฯลฯ ในวันขึ้น๑๔ค่ำ เดือน๑๑ เป็นวันโฮม หรือวันรวมปราสาทผึ้งจากคุ้มต่างๆที่บริเวณวัด แต่ละคุ้มจะอยู่ซุ้มใครซุ้มมันรอบกำแพงวัด พอค่ำลงมีบรรดาหนุ่มๆจะมาเป่าแคน ดีดพิณและสีซอเดินเป็นกลุ่มๆไปรอบคุ้ม หนุ่มที่หมายตาสาวใดไว้ก็จะเข้าไป “แอ่ว” หรือจีบได้ โดยพ่อแม่ของสาวจะไม่ขัดขวางเหมือนวันปกติ รุ่งขึ้นจะมีการทำบุญตักบาตร เสร็จแล้วจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง แค่ละขบวนจะแห่ด้วยเกวียน ใช้คนเทียมแทนวัวควาย นางฟ้าปราสาทผึ้ง (ปัจจุบันเรียกเทพี) จะนั่งอยู่ตอนหน้าของเกวียน ตรงกลางเป็นปราสาทผึ้ง ขบวนแห่มีพิณ ฆ้อง กลอง ตามด้วยคนหนุ่มคนสาวและเฒ่าแก่ ประนมมือถือธูปเทียนแห่รวบพระธาตุเชิงชุมจนครบ ๓รอบ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ในปัจจุบันการทำปราสาทผึ้งและขบวนแห่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากรูปทรงของตัวปราสาทผึ้ง และการประดับประดาได้วิจิตรพิสดารมากมีการออกแบบลวดลายต่างๆไม่เหมือนในอดีต ขบวนแห่ที่เคยใช้เกวียนก็เปลี่ยนเป็นรถยนต์และเปลี่ยนสถานที่รวมขบวนจากบริเวณวัดมาอยู่ที่ สนามมิ่งเมือง แต่ละปีจะมีขบวนแห่ยาวเป็นสิบกิโลเมตร มีสิ่งแปลกๆใหม่ๆเพิ่มขึ้นในขบวนแห่ปราสาทผึ้งคือ การแสดงเกี่ยวกับประเพณีโบราณของอีสาน เช่น การบุญข้าวสาก การตำข้าว การปรุงยาสมัยโบราณ รำมวยโบราณ การทำบุญข้าวประดับดิน และการปลุกพระ ตลอดจนถึงการแสดงนรก-สวรรค์ ว่าคนที่ตกนรกทุกข์ทรมานอย่างไร และคนที่ขึ้นสวรรค์จะได้รับความสุขแค่ไหน หลังจากที่มีการทอดถวายปราสาทผึ้งแล้ว วันรุ่งขึ้นจะมีการแข่งเรือกันที่หนองหาน สำหรับการแข่งเรือนั้นเดิมเป็นการแข่งเอาความสนุกสนานและ สืบทอดประเพณีปัจจุบันเป็นการแข่งขัน เพื่อช่วงชิงรางวัลกันมากกว่า การแห่ปราสาทผึ้งของชาวสกลนครเป็นประเพณีเก่าแก่ โดยมีหลักฐานปรากฏอยู่ในตำนานเมืองหนองหาน (คือสกลนครในปัจจุบัน)กล่าวไว้ว่าในสมัยขอมเรืองอำนาจและปกครองเมืองหนองหาน ในแผ่นดิน พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ได้โปรดฯให้ข้าราชบริพารจัดทำต้นเผิ่ง(ต้นผึ้ง)ขึ้นในวันออกพรรษา เพื่อแห่แหนคบงันที่วัดเชิงชุม(ปัจจุบันเรียกกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุมวรมหาวิหาร) จากนั้นเมืองหนองหานได้จัดทำปราสาทผึ้งติดต่อกัน