blogger นี้ จัดทำขึ้นเพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนของรายวิชา อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนางสาววนิดา ศรีทองสุข นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันว่างๆๆหลังจากหยุดเรียน

1 กันยายน 2554

ณ วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

ณ วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร


ก่อสร้างตามแบบเดิมทุกประการเพียงแต่ย่อส่วนให้เล็กลงตามความเหมาะสมเท่านั้น ส่วนพระพุทธรูปปางปรินิพพานคงไว้ขนาดเดิม คือยาวประมาณ 7 เมตร ส่วนตัวพระวิหารและองค์เจดีย์ด้านหลังนั้นย่อส่วนเข้าให้กะทัดรัด คือกว้าง 18 เมตร ยาว 24 เมตรความสูงขององค์พระเจดีย์ 13 เมตร พื้นล่างยกสูง 3 เมตร เท่าของจริงที่อินเดีย แต่ของเขาปิดเอาไว้ ส่วนของเราเป็นฐานโล่งสามารถอำนวยประโยชน์ในการใช้สอยได้ตามอเนกประสงค์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โดยมี
พระเดชพระคุณ พระเทพญาณวิศิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กรุงเทพฯ เป็นประธานสงฆ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2545
มีคุณเสริม เหวียนระวี พร้อมครอบครัวเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง 6,414,157 บาท (หกล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยห้าสิบเจ็ดบาทถ้วน) ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปี
สังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลได้เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยของเราซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่หาโอกาสได้ไม่ง่ายนักเราพิจารณาดูก็คงรู้ว่ามีไม่กี่แห่งในเมืองไทย แต่ที่แน่ ๆ ของเราก็คือการเน้นรูปลักษณ์ลวดลายและทรวดทรง คือถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจุบันมีคนไปกราบนมัสการที่ดินแดนประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ถ้าหากจำลองไม่เหมือนของจริงแล้วก็จะทำให้เสียความรู้สึกและไม่สร้างศรัทะาให้แก่ท่านผู้ที่มาพบเห็น แต่สำหรับท่านที่ไม่เคยเห็นของจริงนั้นอย่างไรก็ได้ ฉะนั้น ทางคณะกรรมการจึงพยายามพิถีพิถันในการก่อสร้างอยู่ไม่น้อยและทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ดังนั้น ทางวัดจึงใคร่ขอขอบใจอนุโมทนาทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงความสำเร็จทุกประการ ถือว่าพวกเราทุกท่านทุกคนได้มีส่วนร่วมผลงามอันโดดเด่นเป็นสง่าสร้างบารมีอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคลและเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาลเป็นประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญของท่านผู้แสวงหาบุญทั้งหลาย เป็นศูนย์รวมกราบไหว้บูชาคงเป็นผลานิสงฆ์ไม่น้อยกว่าไปกราบในแผ่นดินพุทธภูมิแห่งประเทศอินเดีย และยังเป็นหลักฐานมั่นคงในทางพระพุทธศาสนาสืบทอดไปถึงลูกหลานตราบนานเท่านานจนหาประมาณมิได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น