blogger นี้ จัดทำขึ้นเพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนของรายวิชา อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนางสาววนิดา ศรีทองสุข นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันว่างๆๆหลังจากหยุดเรียน

18 กันยายน 2554

เที่ยวงานไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม


ความเป็นมา

ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เรือไฟ"นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุขนม ข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท

มูลเหตุของการไหลเรือไฟ

ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธ บาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสานจะจัดในเทศกาลออกพรรษาของชาวจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะจัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะต่อพระยานาคที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้นโดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน เป็นต้น

"เรือไฟ" หรือ "เฮือไฟ" คือเรือที่ทำด้วยท่อนกล้วยและไม้ไผ่ตัวเรือยาวประมาณ20-30เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ซีกจัดทำโครง เป็นรูปเรือประดับด้วยไต้ หรือตะเกียงน้ำมันวางเรียงห่างกัน ประมาณ 1-2 คืบ ภายในเรือบรรจุไปด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และขนม ข้าวต้ม ฝ้าย ไหมและเครื่องไทยธรรมต่างๆ อีกมากมายที่พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาซื้อมาร่วมทำบุญ ครั้นพอตกค่ำบรรดาเจ้าของเรือจะจุดไต้ หรือตะเกียงให้สว่าง แล้วนำเรือของตนออกไปกลางแม่น้ำแล้วปล่อยให้เรือไหลไปตามแม่น้ำคล้ายกับการลอยกระทง และมีเรือของหนุ่มๆ สาวๆ ที่พากันตีกลองร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในเวลานั้นท้องน้ำก็จะสว่างไสวไปด้วยไฟระยิบระยับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก

14 กันยายน 2554

เที่ยวน้ำตก : ทีลอซู

น้ำตกทีลอซูเกิดจากลำห้วยกล้อท้อไหลมาจากผืนป่าบริเวณทิศตะวัตตกติดชายเแดนพม่า ลำน้ำทั้งสายตกลงจากหน้าผาสูงกลางป่าทึบของป่าทุ่งใหญ่ในเขตพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นน้ำตกที่ยิ่งใหญ่มีชื่อว่า น้ำตก ทีลอซู มีความสูงประมาณ 300 เมตร เมื่อภาพความสวยงามและยิ่งใหญ่ของน้ำตกทีลอซูปรากฎสู่สายตาแก่นักท่องเที่ยวจึงทำให้ชื่อเสียงของทีลอซูโด่งดังในเวลาอันรวดเร็ว ผู้คนมากมายต่างได้ยินเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของน้ำตกทีลอซู ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมากมายได้เข้าไปสัมผัสแล้วกลับมาบอกเล่าถึงความสวยงาม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่น้ำตกทีลอซูที่เคยยิ่งในใหญ่ครั้งนั้นหดหายไปบ้างเนื่องจากเกิดหน้าผาถล่มเพราะฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ปริมาณน้ำมีมาก หน้าผารับน้ำหนักไม่ไหวจึงถล่มพังลงมา นั่นเป็นเวลาที่ผ่านมานานแล้ว ถึงแม้หน้าผาน้ำตกจะถล่มไปแล้วถึงสองครั้งแต่ความสวยงามของที่ลอซูที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ยังสวยงามเกินพอที่นักท่องเที่ยวจะได้เข้าไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต
ปัจจุบัน น้ำตก ทีลอซู อยู่ในพื้นที่การดูแลของเขตรักษาพันธุ์ป่าอุ้มผาง น้ำตกทีลอซูไม่ใช่อุทยานแห่งชาติ เป็นเพียงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งมีกฎระเบียบการเข้าไปในพื้นที่เคร่งครัด จุดประสงค์เพื่อปกป้องป่าไว้ไม่ให้ถูกทำลายจากการเข้าไปของมนุษย์
แต่ก่อนนั้นการเดินทางเข้าไปยากลำบาก ต้องล่องแพไม้ไผ่เข้าไปจนถึงจุดหนึ่งซึ่งต้องขึ้นบกและเดินเท้าเข้าไปด้วยความยากลำบาก ต่อมาเริ่มมีถนนดินตัดเข้าไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ แต่เส้นทางก็เพียงถนนดิน เมื่อถึงฤดูฝนถนนก็จะชำรุดเสียหายยากต่อการเดินทาง ปัจจุบันความยากลำบากของการเดินทางเข้าน้ำตกทีลอซูกลายเป็นตำนานเพราะเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงเส้นทางใหญ่ ทำเป็นถนนลูกรังอัดแน่นอย่างดีมิใช่เส้นทางที่มีแต่หล่มโคลนเหมือนแต่ก่อน ถึงแม้ถนนดีเดินทางเข้าไปง่ายแต่ความเป็นธรรมชาติยังคงถูกรักษาไว้ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด ถนนเข้าน้ำตกทีลอซูจะถูกปิดในช่วงฤดูฝนและจะเปิดให้เข้าอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน การเข้าไปชมน้ำตกไม่สามารถนำอาหาร ขนม และขวดน้ำเข้าไปได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่นำติดตัวไปจะต้องฝากไว้ที่จุดตรวจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้น้ำตกทีลอซูยังคงสะอาดปราศจากขยะ
การเดินทางจากอุ้มผางสู่ ทีลอซู
การล่องแพยังเป็นการเดินทางที่เป็นอมตะสำหรับการเดินทางในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เริ่มฤดูฝนไปจนถึง 1พฤศจิกายน เส้นทางเข้าทีลอซูถูกปิด การเดินทางเดียวที่ทำได้คือการล่องแพ แต่ก่อนใช้แพไม้ไผ่แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เรือยางลำใหญ่ปลอดภัยกว่าและยังเป็นการอนุรักษ์ จากตัวเมืองอุ้มผางจะต้องลงเรือยางล่องมาตามลำน้ำแม่กลอง ผ่านบ่อน้ำร้อนและแก่งต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือผ่านมีทัศนียภาพที่สวยงามและยังคงเป็นธรรมชาติมากๆ เมื่อล่องมาถึงครึ่งทางนักท่องเที่ยวก็จะได้เห็นความสวยงามของน้ำตกทีลอจ่อที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงลงสู่ลำน้ำแม่กลอง ถัดจากนั้นมาไม่ไกลก็จะผ่านน้ำตกสายรุ้ง หากเดินทางไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะเห็นรุ้งกินน้ำที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบกับละลองน้ำของสายน้ำตก นอกจากนี้ยังมีน้ำตกริมทางให้ได้หยุดแวะเล่นน้ำกันอีกด้วย ระยะเวลาสำหรับการล่องเรือยางประมาณ 3-4 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสน้ำในแต่ละช่วงเวลา เมื่อขึ้นจากเรือยางจะต้องเดินเท้าต่อไปยังจุดกางเต็นท์พักแรมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ประมาณ 1 กิโลเมตรแรกเป็นเส้นทางเดินผ่านป่า ช่วงที่เหลือเป็นถนนลูกรังอัดแน่น สภาพเส้นทางมีขึ้นเนินเป็นบางช่วงโดยเฉพาะช่วงแรกๆ จะเป็นการเดินขึ้นเนินเป็นส่วนใหญ่ ช่วงกลางและท้ายจะเป็นทางลงเนิน วันถัดมาจึงจะได้ชื่นชมกับความงามของน้ำตกทีลอซู ตอนเดินทางกลับก็จะต้องเดินย้อนกลับมาตามเส้นทางเดิมเพื่อกลับมาลงเรือยางล่องต่อไปยังจุดที่ลำน้ำบรรจบกับถนน แล้วขึ้นรถกลับสู่รีสอร์ที่พัก
สำหรับการเดินทางในช่วงเวลาที่ถนนเปิดให้รถเข้าจะมีการเดินทางเป็น 2 แบบ ส่วนใหญ่จะนิยมล่องเรือยางไปยังจุดที่ขึ้นบก จากนั้นก็ขึ้นรถต่อไปยังจุดกางเต็นท์ ขากลับก็นั่งรถกลับตรงไปยังรีสอร์ที่พักในตัวเมืองอุ้มผาง สบายๆ ไม่ต้องเดิน แต่ช่วงเวลานั้นจะมีนักท่องเที่ยวมากในช่วงวันหยุดโดยเฉพาะวันหยุดเทศกาล ถ้าหากไปในช่วงเวลาดังกล่าวก็ต้องยอมรับสภาพว่าบรรยากาศของการแค้มปิ้งพักแรมไม่ค่อยดีเท่าไร อีกแบบหนึ่งสำหรับผู้มีเวลาน้อยและนิยมประหยัด คือการขับรถรวดเดียวจากตัวเมืองอุ้มผางไปยังจุดกางเต็นท์ จากนั้นเดินเท้าเข้าไปเที่ยวน้ำตกแล้วขับรถกลับ ถึงแม้ช่วงเวลานั้นเส้นทางจะเปิด นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถเข้าไปได้แต่การล่องเรือยางเป็นการเดินทางที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมากที่สุดเกือบ 99% ทั้งนี้เพราะการล่องเรือยางเป็นรสชาติของการเดินทางไปน้ำตกทีลอซู เหมือนการเดินทางในรุ่นแรกเริ่ม และนักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของบรรยากาศป่าเขาริมทาง เป็นการเดินทางที่คุ้มค่า

ภูฝอยลม


“ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม”ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จนทำให้ ”ฝอยลม”เริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่
ในระหว่างปี 2538-3532 ส่วนราชการต่างๆนำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในขณะนั้น (นายสายสิทธิ พรแก้ว) ได้ร่วมกันเคลื่อนย้ายราษฎร เหล่านั้นอกจากพื้นที่ป่า โดยจัดให้อยู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับการทำลายนิเวศ
ปี 2533 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี ได้จัดอบรมเยาวชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อว่า “โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติให้คนรุ่นใหม่ได้หันมาสนใจ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี 2535 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและกิจกรรมอบรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ละเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” โดยใช้ชื่อย่อว่า “ย.พ.พ.”
ปี 2535 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณ จัดทำโครงการสวนรวมพรรณป่าไม้ 60 พรรษา มหาราชินี เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ไม้ป่า ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนเป้นสถานที่สำหรบหารศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดอุดรธานี
ปี 2541 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณ จัดทำโครงการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพันดอน-ปะโค ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยพัฒนาป่าสงวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ปี 2545 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว โดยการนำเสนอและการสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต 4 ( นายธีระยุทธ วานิชชัง ) จึงได้รับอนุมัติเงินก่อสร้างบ้านพักห้องน้ำ ศาลาห้องประชุม ศาลาพักผ่อนแหล่งน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ ให้บริการ และเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เพื่อความสะดวกในการจดจำ และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เป็น “ โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ภูฝอยลม “ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Phu Foilom Ecotourism Project” และในปีเดียวกันนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (นายชัยพร รัตนนาคะ) ได้มีแผนการที่จะพัฒนาพื้นที่ ภูฝอยลม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค จึงได้หางบประมาณสร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติม สร้างถนนลาดยาง และจัดทำโครงการอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ และเส้นทางไดโนเสาร์ โดยมรการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ปั้นไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ขนาดเท่าของจริง ปั้นจระเข้และเต่าโบราณ จัดทำหุ่นจำลองและวิวัฒนาการ ของลิงจนกลายเป็นมนุษย์ จัดทำนาฬิกาแดด โดยมีเส้นทางเดินเท้าและการปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณโดยรอบ
ทั้งนี้ ในการจัดสร้างอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว ในเวลาดำเนินการเพียง 96 วัน (ตั้งแต่ วันที่ 1ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2546)

9 กันยายน 2554

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก


ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่ง ท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อมบรรทุกสินค้าที่ี จำเป็น ต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลก เปลี่ยนสินค้า ในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่าง ประเทศเข้ามา เที่ยวชมวิถีชีวิต และการค้าขายในตลาดน้ำแห่งแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เป็นตลาด เก่าแก่นับร้อยปี ซึ่งได้ขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าการคมนาคม ในท้องถิ่นนี้ไม่มีถนนที่เชื่อมกับอำเภออื่นๆ ส่วนมากใช้เรือเป็นพาหนะ โดยคลองนี้จะ เชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง เข้าไว้ด้วยกัน ใช้เวลาขุดประมาณ 2 ปี ที่มาของชื่อคลองได้รับพระราชทาน จากรัชกาลที่ 5
ในอดีตตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นศูนย์รวมในการค้าขาย พืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลจากเรือกสวนไร่นาของ เกษตรกรในย่านนั้น แต่ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นกึ่งตลาดบกตลาดน้ำ คือ มีของขายทั้งบนบกและในเรือ มา เที่ยวที่ตลาดนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะร้อน เพราะมีทางเดินที่มีหลังคาตลอดสองฝั่งของตลาด จึงทำให้เดินเที่ยวชม ตลาดได้ อย่างสบาย ๆ คลองนี้เป็นคลองที่คนใน จ. ราชบุรี จ.สมุทรสาคร และ จ.สมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กัน มีความหมาย ตรงกับชื่อ “ดำเนินสะดวก” คือ การเดินทางสะดวก แม้ทุกวันนี้ จุดประสงค์เริ่มแรกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมี พ่อค้าแม่ค้า และนักท่องเที่ยว เดินทางไปอย่างล้นหลาม ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวก จึงเปรียบเสมือน เป็นที่นัดของเรือร้อยๆลำเพื่อชุมนุมขายสินค้าการเกษตร และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองตลอดจนร้านขายของ ที่รับจากโรงงานในกรุงเทพหรือจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้วคลองที่เต็มไป ด้วยสินค้าทุกชนิดที่เขาตื่นตาตื่นราคาเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ ี่ีเดียวตลาดน้ำจะเริ่มคึกคัก ตั้งแต่ 6.00 น.ไป จน ถึงประมาณ 11.00 น. นอกจากเขาจะได้ชมตลาดน้ำแล้วชีวิตสองฝั่ง คลองของชาวไทยชนบทยังเป็นภาพที่ น่ามองอย่างมากสลับกับเรือกสวนและไร่นาของชาวบ้านส่วนใหญ่ของพื้นที่ ี่แถบนี้ต่างจากภาพที่เขาคุ้นตาตาม เมืองใหญ่ๆ ไปลิบลับ


การเดินทางไปตลาดน้ำดำเนิน
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
- เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม เลย กิโลเมตรที่ 83 ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 325 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนะรัชต์เลยไป 200 เมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร - เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ระยะทาง 63 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 325 ผ่านตัวเมือง สมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 325 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ทางเข้า ตลาดน้ำอยู่ก่อนถึง สะพานธนะรัชต์ 200 เมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร
2. โดยรถสาธารณะ
มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรก ออกตั้งแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ลงรถบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ จากนั้น สามารถ โดยสารรถสองแถวบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ เข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก
1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ (ห้องจำหน่ายตั๋วดำเนินสะดวก) โทร. 0-2435-5031 (ห้องจำหน่ายตั๋วราชบุรี) โทร. 0-2435-5036 นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่น ได้ เช่น สายกรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ี(สายเก่า) แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถว ซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออก ทุก 10 นาที

7 กันยายน 2554

ล่องแก่งนครนายก


ลักษณะของสายน้ำ
แม่น้ำนครนายกเป็นสายน้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลลงมากลายเป็น
น้ำตกนางรอง ไหลมาบรรจบกับ แม่น้ำนครนายก ซึ่งไหลมาจากน้ำตกเหวนรก ภายในอุทยาน
แห่งชาติเขาใหญ่ กระแสน้ำไหลแรงในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม
จุดเริ่มต้นของการล่องแก่งแม่น้ำนครนายกอยู่ที่บริเวณสะพานท่าด่าน

ระดับความยากง่ายในการล่องแก่ง
การล่องแก่งแม่น้ำนครนายกนั้นระดับความยากง่ายขึ้นอยู่กับฤดูกาลดังต่อไปนี้
- กรกฎาคม - ตุลาคม ระดับ 2-3


ระยะเวลาในการล่อง
สำหรับระยะเวลาในการล่องแก่งแม่น้ำนครนายกจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

จุดเด่นของการล่องแก่งสายนี้
จุดเด่นของแม่น้ำสายนี้ คือ ตัวแก่งหินสามชั้น กระแสน้ำจะมีลักษณะไหลลดหลั่นกันลงมา
คล้ายขั้นบันได เป็นแก่งที่สร้าง ความตื่นเต้น เร้าใจ ได้พอสมควร แก่งหินสามชั้น
เป็นจุดเริ่มต้นของการพายเรือแคนูหรือเรือคยัค นอกจากแก่งหินสามชั้นแล้ว ยังมีแก่งโขดคุ้ง
และเกาะแก่ง หลังจากผ่านแก่งต่าง ๆ แล้ว ความรุนแรงของกระแสน้ำจะลดลง

เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของการล่องแก่งแม่น้ำนครนายก คือลำน้ำที่คดเคี้ยวตลอดเส้นทาง
การล่องทำให้เราได้มีโอกาส ฝึกการพายบังคับเรือยางหรือแคนู - คยัคให้เลี้ยวซ้ายขวาได้
อย่างสนุกสนาน จนสิ้นสุดการล่องแก่ง ที่บริเวณวังยาว

แก่งต่าง ๆ ที่จะล่องผ่าน
- แก่งโขดคุ้ง มีลักษณะเป็นโขดหินโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำในช่วงฤดูร้อน แต่จะจมลงไปในน้ำยามฤดูฝน
- เกาะแก่ง มีลักษณะเช่นเดียวกันกับแก่งโขดคุ้งถ้าในช่วงฤดูร้อนจะมองเห็นเกาะแก่งนี้ แต่ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝน กระแสน้ำจะท่วมเกาะแก่งนี้จนไม่สามารถมองเห็นได้



- แก่งหินสามชั้น ถือว่าเป็นไฮไลท์ของการล่องแก่งนางรองนครนายก
ก่อนจะถึงตัวแก่งสามชั้นระยะทางไม่กี่เมตรจะถึงโค้งหักศอกก่อน นักล่องแก่งควรระมัดระวังตัว
ตั้งใจพายให้ดีเมื่อถึงโค้งหักศอกนี้ เพราะต่อไปจะเป็นแก่งสามชั้น ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นหินสามชั้น
เทลาดเอียง ลงมาเป็นขั้นบันได ระยะทางยาวประมาณ 50 เมตร กระแสน้ำจะไหลวนลงมากระทบ
กับโขดหินน้อยใหญ่ที่จมอยู่ใต้น้ำ จนเกิดเป็นลูกคลื่นม้วนตัวเข้าหาหินสูงประมาณหนึ่งเมตร
เป็นจุดท้าทายของนักพายเรือคยัคและแคนู ซึ่งจะมาประลองกำลังความสามารถกันที่บริเวณ
แก่งสามชั้นแห่งนี้ แก่งสามชั้นสร้างความตื่นเต้นเร้าใจในการล่องแก่งนี้ได้พอสมควร
การล่องแก่งนางรองนครนายก จะไปสิ้นสุดการล่องที่บริเวณ บ้านวังยาว

ช่วงเวลาที่เหมาะสม
เขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ปล่อยน้ำเพื่อการชลประทานและการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถล่องแก่งได้ตลอดทั้งปี

ข้อควรระวังในการล่องแก่ง
* สวมชูชีพและหมวกกันน็อคทุกครั้งเมือลงล่องแก่ง
* ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยโดยเคร่งครัด
* เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของไกด์นำทาง
* งดดื่มสุรา และของมึนเมาในขณะล่องแก่ง

ค่าใช้จ่าย
- เรือยาง 8-10 ที่นั่ง ราคา 4,000 บาท / ลำ
- เรือคยัค 2 ที่นั่ง ราคา 1,600 บาท / ลำ

น้ําตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี

น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่น่าสนใจใกล้เมืองกรุงฯ มาก แต่กลายเป็นสิ่งที่เราผ่านเลยไป ทั้งที่เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามถึง 7 ชั้น ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นน้ำตกหินปูน มีแอ่งน้ำเป็นสีเขียว มองเห็นหมู่ปลาแหวกว่าอยู่เป็นฝูง เนื่องจากว่าน้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกที่มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก การเดินทางก็สะดวกสบาย จากตัวเมืองเมืองกาญจนบุรีไปยังอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จากจังหวัดกาญจนบุรีไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3199 ถึงเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70 กิโลเมตร
น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมมีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำจากยอดเขาตาม่องล่ายในเทือกเขาสลอบ ซึ่งเป็นผืนป่าที่ยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์มาก ยังเป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าจำนวนมาก ผืนป่าน้ำตกเอราวัณจึงจัดว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และตลอดจนชุมชนที่อยู่รายรอบป่า
เมื่อเราเช้าไปยังพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จะพบลานจอดรถกว้างใหญ่ มีร้านค้ามากมาย ถัดไปด้านในจะเป็นส่วนสำนักงานอุทยานฯ มีรถไฟฟ้าสำหรับบริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่สะดวกต่อการเดินเท้าเข้าไปยังน้ำตกชั้นแรก การเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง 129 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง สำหรับการเดินทางจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปยังอุทยานแห่งชาติเอราวัณสามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง คือ สายที่ 1 เริ่มต้นจากจังหวัดกาญจนบุรีไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3199 ถึงเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70 กิโลเมตร สายที่ 2 เดินทางจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้านวังใหญ่อยู่ห่างจากน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 3199 อีกประมาณ 25 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ

น้ำพุร้อน โป่งเดือดป่าแป๋

โป่งเดือดป่าแป๋ โป่งเดือดป่าแป๋ จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ก่อนจะถึงตัวเมืองปาย จากเชียงใหม่ใช้เส้นทางสาย แม่มาลัย-ปาย ประมาณ 35 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร โป่งเดือดป่าแป๋อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง โป่งเดือนป่าแป๋ เป็นน้ำพุร้อนที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่เขียวขจี ธรรมชาติบริเวณโป่งเดือดยังคงสมบูรณ์อยู่มาก เดินลัดเลาะไปตามสะพานไม้ ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 500 เมตร เดินออกกำลังกายศึกษาธรรมชาติ เหล่าพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ทำให้มองไปทางไหนก็มีแต่สีเขียวของใบไม้ต้นไม้ หากไม่ส่งเสียงดังจนเกินไป อาจได้พบกับนกนานาชนิด ที่บินมาหาอาหารในช่วงฤดูหนาว เดินออกกำลังขาไม่นานนักก็จะพบกับบ่อน้ำพุร้อน แบบไกเซอร์(Geyser type) ที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินเบื้องล่างเป็นระยะ ๆ เป็นบริเวณกว้างพอสมควร ความสูงของน้ำพุร้อนประมาณ 1 เมตร แต่เมื่อก่อนสูงถึง 4 เมตร บริเวณน้ำพุร้อนอบอวลด้วยกลิ่นกำมะถันที่พุ่งขึ้นมากับน้ำพุร้อน น้ำพุร้อนนี้มีอุณหภูมิใต้ผิวดินอยู่ประมาณ 170-200องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิเหนือผิวดินจะอยู่ที่ประมาณ 90-100 องศาเซลเซียส ต้มไข่ให้สุกได้สบาย ๆ แต่ที่นี่ไม่อนุญาตให้ต้มไข่นะจ๊ะ ออกจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติ แวะพักผ่อนทานข้ามต้มที่ร้านอาหารภายในโป่งเดือด หรือจะอาบน้ำพุร้อนก็มีบริการเช่นกัน หรือจะแช่เท้าในน้ำพุร้อน ผ่อนคลายสบายอารมณ์ยามเช้าตรู่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน ติดต่อบ้านพักอุทยานได้โดยตรงที่เบอร์ 053-315209 ค่ะ

เกาะเสม็ด ระยอง

เกาะเสม็ด เชื่อกันว่าคือเกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทย และชาวต่างประเทศ ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่. เกาะเสม็ด มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้าสู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือ และตะวันออก เหตุที่มีชื่อว่า "เกาะเสม็ด" เพราะเกาะนี้มีต้นเสม็ดขาว และเสม็ดแดงขึ้นอยู่มาก การท่องเที่ยวของ เกาะเสม็ด นั้นสามารถ เที่ยวได้ทั้งปี เพราะการเดินทางนั้นอยู่ใกล้กรุงเทพ และการเดินทางสะดวก
เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง สถานที่น่าสนใจบน เกาะเสม็ด และเกาะใกล้เคียง ชายหาด หาดต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ แต่ละหาดอยู่ในอ่าวเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 200 เมตร เรียงตามลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ ดังนี้ หาดทรายแก้ว หาดหินโคร่ง หาดคลองไผ่ อ่าวพุทรา อ่าวทับทิม อ่าวนวล อ่าวช่อ อ่าวคอก อ่าวเทียน อ่าวหวาย อ่าวกิ่วหน้านอก อ่าวกะรัง ทางด้านตะวันตกมีหาดทรายอยู่แห่งเดียว คือ ที่อ่าวพร้าว จากหาดทรายแก้วและหาดวงเดือน สามารถเดินทางไปหาดอื่น ๆ ได้โดยใช้บริการรถรับจ้าง หรือเดินเท้าไปเอง สถานีเพาะพันธุ์ปลา กรมประมง ตั้งอยู่บริเวณอ่าวน้อยหน่า เป็นสถานีทดลองเล็กๆ ซึ่งมีกระชังทดลองเพาะพันธุ์ปลาทะเลที่ยังไม่สามารถผสมพันธุ์ได้
เกาะกุฎี หรือเกาะกุด เป็นเกาะหนึ่งในวรรณกรรมของสุนทรภู่ อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะเสม็ด ห่างจากฝั่งประมาณ 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 63 ไร่ ใกล้กับเกาะกุฎีมีเกาะขนาดเล็กอีก 2 เกาะ คือ เกาะท้ายค้างคาวและเกาะถ้ำฤาษี มีหาดทรายสวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ ตั้งแค้มป์ปิ้ง มีหน่วยพิทักษ์อุทยานตั้งอยู่โดยรอบเกาะมีแนวปะการัง สามารถติดต่อเช่าเรือจากบ้านเพได้ บนเกาะไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว แต่มีเต็นท์ให้เช่า ราคา 200 บาท/คน/คืน ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ไปเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ 20 บาท/คน/คืน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3865 3034 หรืองานบริการส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2561 2919, 0 2561 2921
เกาะกรวย เกาะขาม และเกาะปลาตีน เป็นเกาะที่อยู่ทางตอนเหนือของเกาะกุฎี ประมาณ 600 เมตร เป็นเกาะที่สวยงาม มีปะการัง และสามารถตกปลาได้ เกาะทะลุ ห่างจากเกาะกุฎี ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ 69 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ ทิศตะวันตกเป็นผาหินสูงชัน ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้มีหาดทรายขาวสะอาด เกาะทะลุมีนกนางนวล ค้างค้าวแม่ไก่ อยู่เป็นจำนวนมาก และมีเต่าทะเลบางชนิดอาศัยอยู่ นอกจากนั้นมีปะการังที่อุดมสมบูรณ์สูงอยู่รอบ ๆ เกาะและเป็นแหล่งเหมาะแก่การดำน้ำลึกอีกแห่งหนึ่ง กิจกรรมดำน้ำ ตกปลา บนเสม็ดมีบริการเรือพาดำน้ำ ตกปลา ติดต่อเรือได้ตามที่พัก ราคาประมาณ 600 บาท ต่อคน

ประวัติศาสตร์ ตามรอยนักรบสู่ฐานอิทธิ อนุสรณ์แห่งผู้กล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์

พ่อของหนูวันนี้ไม่มีแล้ว ไปแนวหน้าทุกข์ยากจริงแสนยิ่งใหญ่ ทำหน้าที่ทหารกล้าชาติอาชาไนย ธงชาติไทย คลุมร่างพ่อ ที่เขาค้อ กลางสมรภูมิ. คนในยุคใหม่อาจรู้จักอำเภอเขาค้อเพียงแค่มีความสวยงามทางธรรมชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น หากย้อนกลับไปซักประมาณ 40 ปีที่แล้ว เขาค้อเคยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งคอมมิวนิสต์ เป็นพื้นที่สีแดงที่คลุกกรุ่นไปด้วยควันไฟของการสู้รบจากผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน (ช่วง พ.ศ. 2511-2525 ) เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของพวกเราชาวไทยทั้งหลายที่เต็มไปด้วยนักรบผู้กล้า ทั้ง พลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ร่วมกันต่อสู้ปราบปรามเพื่อปกป้อง อธิปไตยของชาติ จากกลุ่ม ผกค. ที่ไม่หวังดี และได้สูญเสียทั้งชีวิตร่ายกายไปเป็นจำนวนมาก นับเป็นวีรบุรุษผู้กล้าที่ต้องจดจำและรำลึกถึง
ในยุค ช่วง พ.ศ. 2511-2525 ที่เขาค้อถือเป็นดินแดนต้องห้ามที่คนทั่วไปไม่ควรเฉียดเข้าไปใกล้แม้แต่น้อย เพราะถือว่าอันตรายสุดๆแต่เมื่อเวลาผันผ่านไป ความขัดแย้งยุติลง เขาค้อปรับเปลี่ยนกลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวอันโดดเด่น และสวยงามมีเสน่ห์ที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ เขาค้อ เป็นชื่อเรียกรวมบริเวณเทือกเขาน้อยใหญ่ ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ จนอาจพูดได้ว่าเป็นทะเลภูเขา เช่น เขาค้อ เขาย่า เขาใหญ่ เขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทราย เขาอุ้มแพร เป็นต้น มีต้นไม้มีลักษณะแปลกคือ ต้นค้อ ซึ่งเป็นต้นไม้ในตระกูลปาล์ม มีลักษณะต้นและใบคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทลายคล้ายหมาก ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบริเวณเขาค้อ สภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี
ในอดีต ตั้งแต่ พ.ศ. 2511-2524 พื้นที่เขาค้อ เป็นฐานที่มั่นอันสำคัญยิ่งของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาอย่างยาวนาน นับ 10 ปี มีทั้งกำลังพลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ถูกส่งเข้ามาประจำการเพื่อปราบปรามกวาดล้าง กลุ่ม ผกค. จนเกิดการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน ต้องสูญเสียทั้งกำลังคน อาวุธ ทรัพยากรของชาติมากมายทั้งสองฝ่าย เรียกว่าเป็นการทำสงครามที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรครับ
ในปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลใยสมัยนั้นได้ดำเนินยุทธวิธีการเมืองนำการทหาร พร้อมกับดำเนินการทางทหารอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง จนสามารถยึดพื้นที่เขาค้อทั้งหมดได้ คงเหลือไว้แต่ประวัติศาสตร์การสู้รบอันห้าวหาญ และวีรกรรมของวีรบุรุษ อยู่ ณ ที่ตั้งสถานที่สำคัญในการสู้รบของทั้งสองฝ่าย ร่องรอยของการต่อสู้ที่มีอยู่มากมายเกลื่อนกลาด ไม่ว่าจะเป็นสุสานของทหารกล้า และผู้เสียสละ อนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงผู้จากไป ฐานที่มั่นที่สู้รบกันอย่างหนักหน่วง สถานที่อยู่อาศัยของฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเรา ร่องรอยการทำลายเผาระเบิด เขาค้อนอกจากจะสวยงามด้วยธรรมชาติแล้วยังเป็นพิพิธภัณฑ์การสู้รบกลางแจ้งที่คอยตอกย้ำเตือนใจคนไทยทั้งหลายให้เกิดความรักความสามัคคีกลมเกลียวกันในชาติในตลอดไป สถานที่ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสู้รบ เมื่อครั้งอดีตก็ไม่เคยเลือนหายไปจากความทรงจำของคนไทย ยังคงความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ตั้งสง่าอยู่ในขุนเขาเมืองเขาค้อมาจนถึงปัจจุบัน สถานที่ต่าง ๆ ถูกดัดแปลงรวมทั้งตกแต่งให้เกิดความสวยงามกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งที่สำคัญ ให้ความรู้และเพื่อให้รำลึกถึงวีรบุรุษผู้กล้าของทั้งสองฝ่ายเมื่อครั้งอดีต ในบริเวณเขาค้อมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทริปนี้เราจะพาท่านตามรอยนักรบเขาค้อไปดินแดนประวัติศาสตร์ที่ ฐานอิทธิ และอนุสรณ์ผู้กล้าแห่งเขาค้อ พร้อมกับชมวิวสวย เมืองเขาค้อแบบรอบตัวครับ ฐานอิทธิ (พิพิธภัณฑ์อาวุธ) บริเวณนี้เคยเป็นฐานปืนใหญ่ ยิงสนับสนุนการสู้รบ เป็นฐานสำคัญฐานหนึ่งในการเข้ายึดพื้นที่ ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ อยู่ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์และ เลย ฐานอิทธินี้มีประวัติการสู้รบมายาวนานกว่า 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 เป็นต้นมาฝ่ายรัฐบาลต้องสูญเสียกำลังพลและยุทโธปกรณ์ไปเป็นจำนวนมากเพื่อล้มล้างอิทธิพล ผกค. ในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2524 พตท. 1617 ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้เอาชนะ ผกค. ในพื้นที่เขาค้อได้เปิดยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 1 เพื่อยึดและขับไล่ ผกค. บริเวณเขาค้อ การปฏิบัติฝ่ายเราสามารถยึดเขาค้อได้ภายใต้การยิงสนับสนุนของปืนใหญ่จากฐานยิงฯ สมเด็จ (ฐานยิงสนับสนุนสมเด็จนี้เป็นฐานของ พัน. ป.3403 จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์จาก ป.พัน.4) นครสวรรค์และป.พัน.104 พิษณุโลก ฐานยิงฯสมเด็จอยู่ห่างจากเขาค้อประมาณ 7 กม.) ความสำเร็จของยุทธการนี้ทำให้ฝ่ายเราก่อสร้างทางและขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนของ ผกค. อย่างรวดเร็ว การที่จะเอาชนะ ผกค. ในเขตงานเขาค้อให้ได้โดยเด็ดขาดนี้ จำเป็นต้องใช้กำลังฝ่ายเราที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าโจมตีที่มั่นของ ผกค. บริเวณห้วยทรายทุ่งสะเดาะพง เขาตะเคียนโง๊ะ เขาปูและบ้านหนองแม่นา ดังนั้น พตท.1617 จึงมีนโยบายที่จะเปิดยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 2 ขึ้นเพื่อเข้าโจมตีที่มั่นของ ผกค. และได้ย้าย ป. จากฐานยิงฯสมเด็จมาตั้งบนเขาค้อ คือบริเวณฐานยิงฯ อิทธิ ในปัจจุบัน
ฐานยิงสนับสนุนแห่งนี้ทำการยิงให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่จนสามารถยึดและทำลายที่มั่น ผกค. ได้อย่างสิ้นเชิง ต่อมาฐานแห่งนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ เป็นอนุสรณ์แด่ พ.อ.อิทธิ สิมารักษ์ ผช.ผอ.พตท.1617 ผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ยึดพื้นที่เขาค้อคืนจาก ผกค.ในปี พ.ศ.2524 ซึ่งเสียชีวิตจากการบัญชาการรบบนเข้าค้อเพื่อนำผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตออกจากพื้นที่การต่อสู้ เมื่อ 17 พ.ย. 2523 และได้ยุติจนสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2525 ปัจจุบันฐานยิงสนับสนุนอิทธิได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์การต่อสู้ของกองกำลังฝ่ายบ้านเมืองกับ ผกค. และในพื้นที่ยอดเนิน 1175 ได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์เรียกว่า อนุสาวรีย์ผู้เสียสละเขาค้อ
ภายในฐานอิทธิแห่งนี้ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ มีดอกไม้เมืองหนาวบานสะพรั่งสวยงาม มองเห็นทิวทัศน์เมืองเขาค้อได้อย่างสวยงามและในมุมกว้างอากาศเย็นสบายมาก ๆ มีลมพัดมาตลอดเวลา ในบริเวณด้านหน้าจะมีซากของรถถัง รสพ.113 ของ ร.4 พัน 2 ที่ถูกจรวจ RPG ของ ผกค.ยิงในการคุ้มกัน ถัดมาจะเป็นหอตรวจการ ฮต.-13 (OH-13) ถัดมาเป็นฐานยิงอินทรีย์กลืนช้าง เป็นปืนใหญ่บากกระสุนยิงวิถีโค้ง 95 ขนาด 105 มม. ลูกยิงใหญ่มากเลยครับ ตามมาด้วยฐานยิงพระยาตานี เป็นปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ลูกยิงใหญ่กว่าฐานแรกมากครับ หลังจากนั้นเราก็เจอกับรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ หุ้มเกราะคันนี้ใช้ในการเปิดเส้นทางให้กับทหารของเรา ติดกันนั้นจะเป็นห้องแสดงประวัติของการรบที่เขาค้อมีรูปภาพให้ดู ห้องจำลองของหน่วยแผนที่ ห้องฟังบรรยาย และโซนนี้ผมชอบมากคือห้องแสดงอาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ของเหล่าทหารที่เสียสละชีพในการปฏิบัติในครั้งนั้น

แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต

เป็นจุดชมวิวที่สวยงามของภูเก็ต อยู่ห่างจากหาดราไวย์ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า จากริมหน้าผามีแนวต้นตาลลาดลงสู่ปลายแหลมที่เป็นโขดหิน สามารถเดินไปจนถึงปลายแหลมได้ มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต และสามารถเห็นเกาะแก้วอยู่ด้านหน้าแหลม ทางขวาจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหาน แหลมพรหมเทพนับเป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง นอกจากนั้นยังมี “ประภาคารกาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ” สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มีขนาดความกว้างที่ฐาน 9 เมตร สูง 50 ฟุต และแสงไฟจากโคมไฟจะมองเห็นไกลถึง 39 กิโลเมตร ภายในประภาคารมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการสร้างประภาคาร การรักษาเวลามาตรฐาน การคำนวณ และแสดงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก จากบนยอดของประภาคารยังเป็นจุดชมวิว

อำเภอ เชียงคาน จังหวัด เลย

"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"
เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง "100 ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง" ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป
เชียงคาน อำเภอเล็ก อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง จากอาณาจักรล้านช้างในอดีต จากภูมิประเทศที่ติดชายแดนลาว ผู้คนที่นี่ทำการค้าขายกับคนลาวฝั่งตรงข้ามอยู่สม่ำเสมอตั้งแต่อดีตกาล ครั้นประเทศลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ศิลปวัฒนธรรมการก่อสร้างบ้านเรือน อาหารการกิน คนที่นี่พลอยได้รับอารยธรรมฝรั่งเศสไปด้วย การคมนาคมนอกจากเรือ แล้ว จักรยานเห็นจะเป็นยานพาหนะยอดฮิตของผู้คนที่นี่ เราสามารถเห็นจักรยานรุ่นเก่าจอดเรียงอยู่หน้าบ้าน แถวเชียงคานอยู่ทั่วไป บ้านเรือทรงไทยโบราณเกือบร้อยปี หากใครมีฐานะหน่อยก็จะมีระเบียงหน้าบ้าน จนหน่อยก็มีแค่หน้าต่าง วัฒนธรรมการใส่บาตรข้าวเหนียวยามเช้า ยังคงมีให้เห็นอยู่ พระที่นี่เดินบินฑบาตกันแต่เช้ามืด ประมาณ 6.00 น. ช่วงหน้าหนาวสว่างช้าหน่อยก็เดินกันตั้งแต่ 6.30 น. ทางหอการค้าท่องเที่ยว จ.เลย มีแผนการหลายอย่างที่จะอนุรักษ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ สิ่งก่อสร้าง ภาษาท้องถิ่น ของผู้คนที่นี่ ปัจจุบันทางการกำลังทำถนนจาก อ.ท่าลี่ สู่ หลวงพระบาง ประเทศลาว ประมาณ 320 กม. ถือว่าสั้นและสะดวกที่สุดในการเดินทางโดยรถยนต์ โครงการนี้จะแล้วเสร็จ ประมาณปี 2556 ลัดเลาะสองฝั่งโขง แถวเชียงคานนี่เอง เป็นจุดเริ่มลำน้ำโขงที่มาบรรจบกับลำน้ำเหือง ไหลผ่านอีกหลาย อำเภอ ของอีกหลายจังหวัดของประเทศไทย ทิวทัศน์แปลกตา มีเกาะแก่งน้อยใหญ่ให้ดูชมตลาดเส้นทางที่คู่ขนานกับลำน้ำสายนี้ อาหารการกิน ส่วนใหญ่เป็นจำพวกปลาต่างๆ จากแหล่งน้ำโขงนี่เอง

ภูทับเบิก จังหวัดเพรชบูรณ์

ภูทับเบิก เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางจากหล่มเก่าไปภูหินร่องกล้า หรือห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ภูทับเบิก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา มีอากาศบริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยช่วงเช้าจะมองเห็นกลุ่มเมฆ และทะเลหมอกตัดกับยอดเทือกเขาเพชรบูรณ์ ปัจจุบัน ภูทับเบิก เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ซึ่งได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านทับเบิก หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 16 โดยอยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยอาชีพทำการเกษตรแบบขั้นบันไดตามเชิงเขา ในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะพบเห็นไร่กะหล่ำปลีอยู่สองข้างถนนสู่ทับเบิกสวยงาม ในราวเดือนธันวาคม-มกราคม จะมี ดอกซากุระ หรือ นางพญาเสือโครง สีชมพูบานสะพรั่งไปทั้งภูเขา
การเดินทาง จากเพชรบูรณ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสี่แยกหล่มสัก ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 203 อีก 13 กิโลเมตร พบป้ายบอกทางไปอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตามทางหลวง 2011 และทางหลวงหมายเลข 2331 อีก 40 กิโลเมตร ถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียมของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จากตรงนี้มีทางแยกขวาเข้าหมู่บ้านทับเบิกไปอีก 6 กิโลเมตร เส้นทางจากหล่มเก่ามาภูทับเบิกจะสูงชันและคดเคี้ยวมาก รถบัสไม่สามารถขึ้นได้ ผู้ที่ใช้รถยนต์หรือรถตู้ ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง อีกเส้นทางหนึ่งใช้เส้นทางด้านอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เลยที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มาประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงภูทับเบิก หากขับรถต่อไปจะมาบรรจบกับเส้นทางที่จะลงไปยังอำเภอหล่มเก่า

"เที่ยวภูเรือ สุดหนาวในสยาม"

ช่วงปีใหม่เป็นช่วงเวลาแห่งการท่องเที่ยว การที่เราได้สูดอากาศดีๆ ตามธรรมชาติในเมืองไทยน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ คราวนี้เราเลยพาไปเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูเรือ ต.หนองบัว อ. ภูเรือ จ. เลย ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่สูงประมาณ 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ ต้องเดินขึ้นเขาจากผาโหล่นน้อยมาประมาณ 700 เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้านกระทั่งเห็นแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย – ลาว ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ เราได้เดินทางออกจาก ภูทับเบิก มาเรื่อยๆ ถนนจะเป็นทางโค้งตลอดเส้นทาง (เล่นเอาคลื่นไส้ได้เหมือนกัน) แต่ทางขึ้นภูเรือเป็นทางเรียบ รถเก๋ง รถเล็ก สามารถขึ้นได้สบาย ไม่ชันมาก พอเราขับไปถึงภูเรือ ประมาณเกือบค่ำ อากาศก็เริ่มมืด เราต้องรีบไปติดต่อขอกางเต็นท์ บนทิวสน ขอบอกว่า ระยะทางเพียง 5 เมตร เราไม่สามารถมองเห็นใครได้ เพราะว่า หมอกลงหนามากๆ เหมือนเราได้ดูหนังเรื่อง the fog อย่างไงอย่างงั้นเลย อากาศเย็นมาก จำไม่ได้ว่ากี่องศา
หลังจากกางเต็นท์กันเสร็จ เต็นท์อื่นๆ เค้าก็ทำอาหารทานกันเอง เราก็ได้กลิ่นหอมจนทนไม่ไหว ก็เลยนั่งรถบริการสองแถวของอุทยานไปยังจุดพักนักท่องเที่ยว ซึ่งตรงนั้นจะมีอาหารและข้าวของเครื่องใช้จำเป็นขาย ซึ่งอาหารที่นั่นถือว่า รสชาติใช้ได้เลยทีเดียว แต่เสียอย่างเดียว อาหารชืดเร็วไปหน่อย เพราะอาการที่มันหนาวนี่แหละ พอทานอาหารเสร็จเราก็กลับมาพักผ่อนนอนหลับกันในเต็นท์อย่างอบอุ่น ^^
หลังจากตื่นเช้ามา ก็เดินมาชมวิว ที่ ยอดภูเรือ และผาโหล่นน้อย ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยมาก การเดินทางไปจุดชมวิว เดินเท้าไปผาโหล่นน้อยประมาณ 200 เมตร จากจุดพัก และถ้าไปยอดภูเรือ 700 เมตร แต่มีรถรับ-ส่ง ไปยอดภูเรือ อากาศบนยอดภูเรือหนาวมาก มีลมแรง มีมองแซมตามเขาสวยมากเลย ถ้าใครที่เคยมาที่นี่คงได้สัมผัสบรรยากาศแบบนี้เหมือนกัน
การเดินทาง รถยนต์ อุทยานแห่งชาติภูเรือ อยู่ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 48 กิโลเมตร โดยเดินทางไปโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 ถึงอำเภอภูเรือ จะมีป้ายอุทยานแห่งชาติอยู่ปากทางเข้าซึ่งอยู่ข้างที่ว่าการอำเภอภูเรือ (มาจากจังหวัดเลย ป้ายจะอยู่ทางด้านขวามือ มาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ป้ายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) จากปากทางเข้าเดินทางต่อไปอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถนนภายในอุทยานแห่งชาติเป็นถนนลาดยาง เป็นถนนบนภูเขา บางช่วงมีความลาดชัน นักท่องท่องเที่ยวควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ใช้เกียร์ต่ำ มิฉะนั้นจะทำให้เบรคไหม้ได้ เครื่องบิน การเดินทางโดยเครื่องบิน 1)เส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรฯ และนั่งรถประจำทางสายอุดรฯ-เมืองเลย 2)เส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น นั่งรถประจำทางสายขอนแก่น-เมืองเลย เมื่อมาถึงจังหวัดเลยสามารถนั่งรถประจำทางประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเรือ 3)กรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์ รถโดยสารประจำทาง เดินทางจากกรุงเทพฯ มี 2 เส้นทาง คือ 1.รถสายกรุงเทพฯ-ภูเรือ 2.รถสายกรุงเทพฯ-เมืองเลย และนั่งรถประจำทาง ดังนี้ 1)สายเมืองเลย-ภูเรือ 2)นครพนม-เชียงราย 3)อุดรฯ-พิษณุโลก 4)อุดรฯ-เชียงใหม่

เที่ยวเมืองปายเจ้า : น้ำตกหมอแปง

อยู่ที่บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เป็นน้ำตกขนาดกลาง 3 ชั้น จะมีความสวยงามมากในฤดูฝนเนื่องจากน้ำจะไหลตกเต็มแผ่นหิน รอบ ๆ น้ำตกเป็นป่าไม้ที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีหมู่บ้านชาวเขาเผามูเซอแดงอยู่บริเวณใกล้เคียงรอบน้ำตก น้ำตกหมอแปงนับเป็นน้ำตกยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเยือนปาย เพราะมีความสวยงามและเดินทางไปเที่ยวสะดวกกว่าที่ไหนๆ เพราะห่างจากตัวเมืองปายเพียง 9 กิโลเมตรเท่านั้น คุณควรเริ่มต้นการเดินทางจากบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 102 จากถนนทางหลวง 1095 ไปทางอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายไปจนถึงหมู่บ้านมูเซอยะโป๋ จากนั้นข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร ตามถนนดินแดงขนานเล็ก สุดทางจะเป็นที่จอดรถ ตัวน้ำตกอยู่ทางด้านขวามือ
น้ำตกหม้อแปงแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ใหญ่และเหมาะแก่การเล่นน้ำคือ ชั้นสองและชั้นสาม โดยรวมทุกชั้นแล้วน้ำตกหม้อแปงจะสูงประมาณ 15 เมตร กว้างประมาณ 10-15 เมตร มีน้ำไหลตลอดปีแต่สวยงามที่สุดในช่วงฤดูฝนบรรยากาศโดยรอบร่มรื่นด้วยป่าต้นยาง ใกล้ ๆ บริเวณน้ำตกยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านมูเซอแดงมีร้ายอาหารเล็กๆคอยให้บริการอยู่ด้วย

4 กันยายน 2554

อุทยานแห่งชาติภูพาน

อุทยานแห่งชาติภูพาน ปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นปัญหาทางด้านการเมือง และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อต้านทหารกองทัพญี่ปุ่นซึ่ง นับเป็นประวัติศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาภูพานหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ป่าเขาชมภูพาน” จังหวัดสกลนคร และจังหวัดกาฬสินธุ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลโคกภู ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และตำบลห้วยยาง ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 418,125 ไร่ หรือ 669 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2515 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 7 ของประเทศ
จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีหนังสือที่ กส 09/598 ลงวันที่ 12 มกราคม 2516 รายงานว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ที่ดินป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ปรากฏว่ามีพื้นที่บางส่วนในบางตำบลของจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นเขตอุทยานแห่ง ชาติแต่ไม่ได้ระบุชื่อตำบลลงไว้ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการตรวจสอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติใหม่ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และกำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 106 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2518
กรมป่าไม้ดำเนินการรังวัดแนวเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เพื่อทำการขอเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2520 ซึ่งอนุมัติในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่บริเวณบ่อหิน เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2521 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 ให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนพื้นที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม (หลวงปู่ฝั้น) และอ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน แต่เนื่องจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณ ที่ดินป่าภูพานให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2518 ไม่ได้ระบุชื่อตำบลบางตำบลไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนได้ กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนวทางปฏิบัติ โดยให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นไปใหม่และกันพื้นที่ดังกล่าวออกเสียและ เพิ่มตำบลที่ตกหล่นให้สมบูรณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุทยานแห่งชาติป่าภูพาน ในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลห้วยบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล ตำบลมหาไชย ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง กิ่งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 161 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร (คือระบุตำบลเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแนวเขตตำบลและเพิกถอนสำนักสงฆ์ถ้ำขาม บ่อหิน พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ)

ตำนานหนองหาร..สกลนคร

ตำนานหนองหาน ครั้งหนึ่ง ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ “นครเอกชะทีตา” มีพระยาขอม เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวย นามว่า “นางไอ่คำ” ซึ่งเป็นที่รักและ หวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้น ให้ อยู่พร้อมเหล่าสนม กำนัล คอยดูแลอย่างดี ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ “เมืองผาโพง” มีเจ้าชายนามว่า “ท้าวผาแดง” เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจร ถึง นครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันกันมาแต่ชาติ ปาง ก่อนนางไอ่คำกับท้าวผาแดง จึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้ง 2 ก็ได้อภิรมย์สมรักกัน ก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอ ทั้ง 2 ได้คร่ำครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึง เดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถนระยาขอม จึงได้ประกาศบอก ไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมา จุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงาม นางไอ่คำด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ถึง 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลงขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาค ที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารัก มาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ ข้างปราสาทนางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพราน ยิงเอาตัวตายมาในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า “ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียนคนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง” จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกัน และจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็นอาหาร ทิพย์ ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกธรแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้า กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนี ตาย เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่น นับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3 – 4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่าย ี่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตาย ฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้า ม้าเท่าใด ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำพร้อมม้าแสนรู้ชื่อ “บักสาม” จมหายไปใต้พื้นดิน รุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3 – 4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนองหานหลวง ดังปรากฏในปัจจุบัน

3 กันยายน 2554

อิ่มอร่อยกับเค๊กสตอร์เบอรี่

เค้กสปันจ์เนื้อเบารสสตรอเบอร์รี่ แป้งสาลีทำเค้ก 200 กรัม แป้งข้าวโพด 20 กรัม ผงฟู 1/2 ช้อนชา วานิลลาผง 1 ช้อนชา นมข้นจืด 50 กรัม น้ำมะนาว 1 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำตาลทราย 200 กรัม ไข่ไก่แช่เย็น 6 ฟอง น้ำเย็นผสมน้ำหวานรสสตรอเบอร์รี่ 25/25 50 กรัม เนยสดชนิดเค็มละลาย 100 กรัม นมข้นจืด 50 กรัม น้ำหอมกลิ่นสตรอเบอร์รี่ 1/4 ช้อนชา สีผสมอาหาร แดงสตรอเบอร์รี่ 1/8 ช้อนชา เหล้ารัมย์สำหรับฉีดพรมเค้ก
วิธีทำ - ร่อนแป้งสาลีทำเค้กกับแป้งข้าวโพด ผงฟู วานิลลาชนิดผง นมผง เกลือป่น เข้าด้วยกัน ผสมน้ำตาลทรายลงในแป้งพักไว้ - ใช้พายยางคนผสมไข่ไก่แช่เย็นกับส่วนผสมแป้งเข้าด้วยกัน ตีผสมด้วยหัวตีรูปตะกร้อใช้ความเร็วต่ำ นานประมาณ 1 นาที เพิ่มความเร็วสูงสุด 2 นาที เติมน้ำผสมน้ำหอมกลิ่นสตรอเบอร์รี่และสีผสมอาหารสีแดง ตีผสมต่อด้วยความเร็วสูงสุด 2 นาที ลดความเร็วต่ำตีต่อไปอีก 5 นาที เติมเนยสดชนิดเค็มละลายและนมข้นจืดผสมน้ำมะนาว (ถ้าเนยยังร้อนให้เอานมข้นจืดผสมลงในเนยละลายก่อน) ตีผสมพอเข้ากัน ประมาณ 30 วินาที ปิดเครื่อง ใช้พายยางคนผสมให้เข้ากัน - นำเข้าเตาอบ อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส ไฟล่าง นานประมาณ30-45นาที หรือจนขอบขนมร่อนจากพิมพ์